วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

09:27 - No comments

กิจกรรมหน้าเสาธงตอนเช้า…ปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ?






........ฝึกอะไรเด็กที่หน้าเสาธง…ฝึกให้เป็นคนมีระเบียบ วินัย “ ตามที่ครูสั่ง ครูควบคุม”     ครูดีใจ ภูมิใจถ้านักเรียนทำตามสั่ง  เป็นระเบียบดี   ถ้าครูไม่สั่ง ครูไม่ควบคุม  แน่นอนที่สุดความวุ่นวายเกิดขึ้นทันที ทุกวันนี้ คนไทยที่ทำตามกฎกติกา เป็นเพราะว่าความเคยชินจนเป็นนิสัย   นิสัยที่ว่านี้ก็คือ “ นิสัยทำตามเจ้านายสั่ง และถ้าเจ้านายควบคุมก็จะทำเต็มที่ ”  จะเห็นได้ชัดเจนในหน่วยงานทั่ว ๆ ไป ถ้าเจ้านายอยู่  และควบคุมจะทำงานเต็มความสามารถ   วันใดเจ้านายไม่อยู่ก็ทำเหมือนกัน แต่ออกแรงไม่เต็มที่

………กิจกรรมหน้าเสาธง  ฝึกเด็กให้รู้จักจัดการกันเองได้ไหม….ครูเลิกจัดการกับชีวิตเขาเสียทีโดยให้ ครูอาจารย์ดูแลอยู่ห่าง ๆ  นอกสนาม   นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการ   หรือให้รุ่นพี่ ม.6  แบ่งหน้าที่กันเองให้รับผิดชอบแทนครู ตั้งแต่ ม.1   ถึง  ม.4  สำหรับ ม.5  ให้เขาได้ฝึกดูแล ควบคุมกันเอง    กติกาต่าง ๆ  ที่ใช้ในกิจกรรมหน้าเสาธง ให้นักเรียนทั้งหมดช่วยกันร่าง ช่วยกันพิจารณา  (เหมือนกับว่าเขาได้ฝึกการเป็น ส.ส. )  เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วก็นำเสนอเพื่อความเห็นชอบต่อคณะครูอีกครั้งหนึ่งก่อน ที่จะนำไปใช้  (เหมือนกับว่าได้ฝึกครูเป็น ส.ว.  กลั่นกรองกฎหมาย )  SBM  เกิดขึ้นแล้ว  ซึ่งวิธีเดิมที่ปฏิบัติมาแต่ไหนแต่ไร  ถามว่า เด็ก ๆ เคยร่างกฎกติกามาใช้กับพวกเขาเองไหม ?  ผู้ใหญ่คิดเองใช่ไหม ?  แล้วสั่งให้เด็ก ๆ ทำใช่ไหม ?  จะเป็น SBM  ได้อย่างไร 
….……คงมีคนคัดค้านวิธีนี้แน่  เพราะว่าครูถูกลดอำนาจลงมาก  กลัวว่าถ้าให้อำนาจกับเด็กในเรื่องนี้ได้  ต่อไปเด็ก ๆ  จะต้องขอโน่น ขอนี่อีก  จะเป็นภาระยุ่งยากให้กับครู (ผู้หลงอำนาจ)  วิธีครูเซนเตอร์  ก็จะยังคงมีอยู่  แล้วเด็กจะมีความสำคัญอย่างไร  แม้แต่ชีวิตของเขา เขาไม่ไม่สิทธิ์บงการ จัดการกับตัวเขา  ต้องรอให้ผู้ใหญ่ (บ้าอำนาจ) มาบงการชีวิตเขาตลอดเวลา
……….SBM   เป็นการกระจายอำนาจให้กับชีวิตใครชีวิตมัน สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ก็บ่งไว้ชัดเจน  เพียงแต่ว่าโรงเรียนจะจัดการได้เพียงใด  บ้านเมืองเปลี่ยนไปแล้ว  การปกครองดูแลนักเรียนยังต้องทำแบบเดิม ๆ  อยู่  เปลี่ยนแปลงบ้างไม่ได้หรือ ?  ทำตัวเป็นนักอนุรักษ์ไปได้   คำว่า “ คิดใหม่  ทำใหม่ “ ที่ผู้บริหารเคยพูดไว้ตอนประชุมครูอยู่บ่อย ๆ   พูดเพื่อพูดเท่านั้นเองหรือ  ควรจะพูดเพื่อปฏิบัติดีกว่า ค่อยเป็นค่อยไป  ทำบางอย่างบางเรื่องที่พอทำได้  ใช้  PDCA  ,ใช้ Walk Rally   มาช่วย
……….เป็นธรรมดา  ต้องมีคำพูดที่ว่า  “วิธีนี้เกิดความยุ่งยากแน่  ขนาดที่ครูควบคุมดูแล ยังไม่ดี  ถ้าให้เด็กดูแลกันเองจะดีได้อย่างไร  ?  “   ต้องยอมรับว่าความยุ่งยากต้องเกิดขึ้นแน่  วิธีที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ครูดูแล ควบคุมเด็ก  เป็นเวลา 40 ปีแล้ว ยังไม่ดีเท่าไรนัก  ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่ดีเท่าไร  ก็ไม่คิดเปลี่ยนวิธี ยังดันทุรังใช้วิธีเดิมนี้อีก  สอนเด็กให้คิดให้เป็น  แล้วครูคิดไม่เป็นหรืออย่างไร  พอใครเสนอวิธีใหม่ ๆ ขึ้นมา ก็ต้องพูดขึ้นมาทันทีว่า “ทำไม่ได้หรอก  อย่างนี้ไม่ดีหรอก “   นั่งนึกเองว่าไม่ได้ ไม่ดี   แล้วสรุปเองว่าไม่ดี  ลองทำวิธีใหม่หรือยังล่ะ  ทำได้ 2 – 3 วันแล้วสรุปว่าไม่ดี  ไม่ได้น่ะ  ต้องรอเป็นเทอม  เป็นปีนั่นแหละ  วิธีเดิมยังทำมาเป็น  40  ปี  ถ้าใจกว้างจริง ก็ต้องรอ 4 – 5 ปี  นั่นแหละ
……….วิธีการใหม่นี้ เป็นการฝึกนักเรียนได้ดีกว่า เช่น  นักเรียนได้คิดมากกว่า  นักเรียนมีสิทธิดูแลกันเองมากกว่า  นักเรียนมีสิทธิ์ในการร่างกติกาซึ่งประวัติศาสตร์โรงเรียนนี้ไม่เคยมีมา ก่อน  ผลพลอยได้ทิ่จะติดตามมาก็คือ  ครูลดภาระลง เพียงแต่ดูแลห่าง ๆ  จนในที่สุดไม่ต้องดูแลก็ได้  ครูไปรออยู่ที่ห้องโฮมรูม  จะมีรุ่นพี่ ม.6 เช็คจำนวนแล้วพาเดินเป็นแถวไปพบครู   นักเรียนที่เข้า ม.1 จนถึง ม.6  เคยถูกฝึกให้ทำตามคำสั่งครูมาตลอด จะได้มีโอกาสฝึกเป็นรุ่นพี่  ฝึกเป็นผู้นำ  ฝึกเป็นผู้ควบคุมดูแล  ฝึกเป็นผู้บริหารกันบ้าง  โรงเรียนนี้จะเปลี่ยนโฉมการฝึกกันใหม่  ฝึกคนให้เป็นเลเบอร์มาตลอดทุกรุ่น ๆ  เมื่อจบออกไปถ้าได้รับตำแหน่งผู้นำก็ทำได้ไม่ดี   มีสักกี่คนที่มีตำแหน่งหัวหน้า  ก็เพราะเราไม่ได้ฝึกให้เขาเป็นคนระดับหัวหน้านั่นเอง
………วิธีการใหม่นี้  อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด   ผมคิดของผมเองอย่างนี้   … อาจารย์บางท่านอาจจะคิดได้ดีกว่านี้  แต่ไม่มีโอกาสได้พูด  ได้แสดงความคิดเห็น    หาโอกาสไม่ได้เลย   สิ้นปีมีการประเมินผลงาน หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่มสาระฯ มานำเสนอ รายการสุดท้ายเพราะโรงเรียนไม่มีวันประเมินผลตอนปิดภาคเรียน  ฝ่ายบริหารใจแคบ กลัวว่าจะถูกครูตำหนิการทำงาน ทำใจไม่ได้ก็เลยงดการประเมินผลเมื่อทำงานเสร็จ  แล้วก็พูดอยู่บ่อย ๆ ว่า ทำงานยึดหลัก  PDCA  ยึดได้ก็เพียง PD เท่านั้น สำหรับ CA ทำได้เป็นบางเรื่องเท่านั้น      ผมจึงต้องเขียนแสดงความคิดเห็นออกมา   ท่านที่คิดวิธีที่ดีกว่านี้ก็ควรจะรีบแสดงความคิดเห็นออกมา   ถ้าไม่กล้าคิดไม่กล้าทำ โรงเรียนก็เป็นอย่างนี้แหละ   เด็ก ๆ ก็ไม่มีสิทธิ์มีส่วนร่วมในการปกครองกันเองได้เลย
……….หลากหลายความคิด  หลากหลายวิธี  ควรจะมีการพบปะพูดคุยกัน  ให้ได้บทสรุปที่เป็นไปได้ อย่างมีจุดหมาย  หลักการที่แน่นอน  ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง  สำคัญอยู่ที่ว่าเราจะใช้โอกาสใดในการพบปะกัน ทำ Work Shop กันเป็นเรื่อง ๆ     ครู-อาจารย์ เมื่อได้พุดคุยกันตามสถานที่บางแห่ง  3 คน 5 คน  หนีไม่พ้นเรื่องเกี่ยวกับโรงเรียน  พูดเรื่องปัญหา  เรื่องวิธีการแก้ไข  ผมก็ได้ยินได้ฟังมา เป็นวิธีดี ๆ ทั้งนั้น ถ้าจะทำ  แสดงว่าครูเรายังคิดที่จะทำให้สิ่งที่ดี ๆ เกิดขึ้นในโรงเรียน   แต่ทำไมไม่พูดกันในห้องประชุมล่ะ  บางคนพูดว่าพูดในห้องประชุม ไม่มีเวลาพูด    เวลา 100   ผ.อ.พูด  75  ผช. พูดคนละ 5   ที่เหลืออีก 5 ไม่กล้าพูด เกรงใจเพื่อนครูที่อยู่บ้านไกลจะกลับบ้านค่ำ  และถ้าพูดไปมันก็ไม่มีผลอะไร   เงียบไว้ดีกว่า

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น